บทความ

ทองพันชั่ง

รูปภาพ
  ทองพันชั่ง ชื่อสมุนไพร   ทองพันชั่ง ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น   หญ้าไก่ (ไทย) , แปะเฮาะเล่งจือ (จีน-จีนแต้จิ๋ว) , หญ้ามันไก่ , ทองพันดุลย์ , ทองคันชั่ง (ภาคกลาง) , ผกาฮ้อมบก (สุรินทร์) ชื่อวิทยาศาสตร์   Rhinacanthus nasutus (Linn.) Kurz. ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์   Rhinacanthus communis Nees ชื่อสามัญ    White crane flower วงศ์   Acanthaceae ลักษณะของทองพันชั่ง              ต้นทองพันชั่ง   เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร โคนของลำต้นเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง มีกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบทองพันชั่ง   ใบเป็นเป็นเดี่ยว ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ดอกทองพันชั่ง   ออกดอกเป็นช่อตรงซอกมุมใบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน กลีบดอกติดกัน โคนเป็นหลอด มีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 กลีบ กลีบมีขนยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 0.1 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 2 แฉกแหลมสั้น ๆ ส่วนกลีบล่างแผ่กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร แยกเป็น 3 แฉก ส่วนก้านเกสรจะสั้นติดอยู่

หนาดใหญ่

รูปภาพ
หนาดใหญ่ ชื่อสมุนไพร   หนาดใหญ่   ชื่ออื่น  ๆ   หนาด  ,  หนาดหลวง  ,  คำพอง ( เหนือ ) ,  พิมสม ( กลาง ) ,  ใบหรม ( ใต้ ) ,  ไต่ฮวงไหง่  ,  ไหง่หนับเฮี่ยง ( จีน )   ชื่อวิทยาศาสตร์   Blumea  balsamifera (L.) DC.   ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์   Blumea  grandis DC., Baccharis salvia Lour.   ชื่อสามัญ  Ngai  Campor  Tree, Camphor Tree    วงศ์  ASTERACEAE (COMPOSITAE)   ลักษณะของหนาดใหญ่     ต้นหนาดใหญ่   จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ล้มลุกที่มีอายุได้หลายปี   ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ  0.5-4  เมตร   ลำต้นตั้งตรง   เนื้อไม้เป็นแก่นแข็ง   เปลือกต้นเรียบเป็นสีเขียวอมขาว   เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแกมเทา   แตกกิ่งก้านมาก   มีขนปุกปุยสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนขึ้นปกคลุมและมีกลิ่นหอม   ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือผล   เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง   ที่มักพบขึ้นตามที่รกร้าง   ทุ่งนา   หรือตามหุบเขาทั่วไป   ใบหนาดใหญ่   ใบเป็นใบเดี่ยว   ออกเรียงสลับ   ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี   รูปขอบขนานแกมใบหอก   หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่   ปลายใบแหลมหรือมีติ่งหนาม   โคนใบสอบหรือเรียวแหลมเล็กน้อย   ส่วนขอบใบหยักเป็นซี่ใหญ่   ไม่เท่ากัน   ใ